อินโฟกราฟิก : ดูแลอย่างไร … ถ้าคนใกล้ตัวมีปัญหาการดื่มสุรา?

May 29, 2019


“เลิกงานแล้ว ไปฉลองกันดีกว่า!”

เชื่อว่าหนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายคงหนีไม่พ้นการ ‘ฉลอง’ หลังเลิกงาน เพราะหลังจากต้องจัดการกับกองงานมหาศาล ดีลกับหัวหน้าผู้น่ารัก ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องออกไปหาอะไรดื่มให้ลืมความเครียดกันบ้าง

ถ้าดื่มเฉยๆ ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ดื่มมากเกินไปจนเข้าข่ายมีปัญหา นั่นคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ อีกทั้งการดื่มมากเกินไปอาจนำไปสู่การทะเลาะวิวาท หรืออุบัติเหตุทั้งต่อตัวผู้ดื่มเอง และคนรอบข้างด้วย ดังนั้น ก่อนจะยกแก้วขึ้นดื่ม ลองหยุดคิดและพิจารณาสักนิดว่า เราจะดื่มเท่าไร เราดื่มเท่านี้พอไหม ดื่มอย่างมีสติและรับผิดชอบ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดผลเสียตามมา

เพื่อเป็นหนึ่งในเพื่อนคู่ใจคุณ เราขอส่งอินโฟกราฟิกย่อยง่าย น่ารัก เป็นมิตรตามสไตล์ Alcohol Rhythm เพื่อจะทำให้ผู้ดื่มหรือคนรอบตัวทั้งหลายรู้อาการว่า แบบนี้เรียกว่าเมาไหม หรือเข้าขั้นติดแอลกอฮอล์แล้ว แล้วที่เขาพูดกันว่า ‘ลงแดง’ เป็นแบบไหนกัน … ถ้าคุณเจอคำถามนี้ เรามีคำตอบให้คุณ!

ยังไม่พอ เท่านี้ยังไม่พอ … เพราะหลายครั้งที่เราไม่ได้เป็นคนดื่มเอง แต่เป็นเพื่อนของคนดื่มที่ต้องเจอปัญหาเพื่อนข้างๆ มีสกิล ‘วาร์ปเก่ง’ คือนั่งคุยกันอยู่ดีๆ หันมาอีกทีเพื่อนปลิวไปแล้ว หรือถ้าหนักกว่านั้น เพื่อนของคุณอาจเกิดอาการชัก หรือบาดเจ็บที่ศีรษะได้ ถ้าเจอเหตุการณ์นี้แบบนี้ไม่ต้องตกใจ แต่ให้ตั้งสติ และทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้ ซึ่งจะช่วยให้คุณดูแลคนรอบตัวที่มีปัญหาจากการดื่มสุราได้อย่างถูกวิธี

 

หากผู้ดื่มดื่มสุราอย่างหนัก ขณะดื่มหรือภายหลังการดื่มไม่นานจะเกิดอาการเมาสุรา ซึ่งจะทำให้ผู้ดื่มที่เมามีความคิดและพฤติกรรมที่บกพร่อง รวมถึงมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น แสดงออกทางเพศไม่เหมาะสม ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน โดยการสังเกตว่าผู้ดื่มคนไหนเมาแล้วนั้น เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ การพูดอ้อแอ้ ลิ้นคับปาก มือสั่นมากขึ้น เดินเซหรือไม่ตรงทาง บางครั้งอาจถึงขั้นมีอาการชัก

 

ผู้ที่ติดสุราจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้อย่างน้อย 3 ข้อ จาก 7 ข้อ

 

สำหรับผู้ที่ติดหรือดื่มสุรามานาน หรือดื่มหลายวันจนเมาหัวราน้ำ เมื่อหยุดดื่ม หรือลดปริมาณการดื่มลง จะเกิดอาการขาดสุรา โดยลักษณะของอาการดังกล่าว เช่น รู้สึกกระวนกระวาย วิตกกังวล มือสั่นใจสั่น บางครั้งอาจถึงขั้นเพ้อสับสน ประสาทหลอน หรือชัก โดยอาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นหลังหยุดดื่มสุราในวันที่ 2-3 จนถึง 1 สัปดาห์

 

เมื่อเพื่อน หรือคนใกล้ชิดหมดสติจากการดื่มแอลกอฮอล์ จะดูแลอย่างไร

 

1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการหมดสติ ให้เริ่มจากการตรวจดูว่ายังหายใจอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ ให้เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยกดหน้าผากลงและยกคางให้เงยขึ้น ถ้ายังไม่หายใจให้ช่วยให้หายใจ โดยผู้ช่วยเหลือเป่าลมหายใจออกเข้าไปในปอดของผู้ที่หมดสติ หากหัวใจหยุดเต้น ให้ช่วยนวดหัวใจ

2. สำรวจร่างกายของผู้หมดสติว่า มีอาการบาดเจ็บ หรือมีภาวะอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีบาดแผลและมีเลือดออกให้ห้ามเลือด ถ้ามีกระดูกหัก ให้ประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่กับที่ ควรระมัดระวังอย่างยิ่งหากต้องเคลื่อนไหว

3. ถ้าเริ่มอาเจียน ให้ตะแคงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อกันไม่ให้ลิ้นตกไปด้านหลังลำคอและอุดกั้นทางเดินหายใจ และป้องกันไม่ให้อาเจียนไหลเข้าหลอดลม

4. ช่วยทำร่างกายของผู้หมดสติให้อบอุ่น

5. พยายามหาว่าผู้หมดสติใช้ยาอะไรหรือไม่ ถ้าไม่ทราบ ให้เก็บเศษอาหารหรืออาเจียนและส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ และหาสาเหตุที่ทำให้หมดสติ รวมทั้งประวัติการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อจะแจ้งให้แพทย์ทราบ

6. สามารถโทรศัพท์เรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เบอร์ 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยในตอนโทรแจ้ง ควรมีสติ แจ้งสถานที่ให้ถูกต้อง อธิบายอาการอย่างละเอียด รวมถึงแจ้งเบอร์เพื่อติดต่อกลับ ที่สำคัญคือควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือคนเจ็บอย่างเคร่งครัด

 

เมื่อเพื่อน หรือคนใกล้ชิดมีอาการชัก จากการดื่มแอลกอฮอล์ จะดูแลอย่างไร

 

 

เมื่อเพื่อน หรือคนใกล้ชิดมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ จากการดื่มแอลกอฮอล์ จะดูแลอย่างไร

 

 


ที่มา: Booklet ‘การปฐมพยาบาลผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุรา’ แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)

เรื่องและภาพ: ทีมงาน Alcohol Rhythm

Related Articles