ขาดเหล้า.. ไม่ขาดใจ : ดูแลคนติดเหล้ายุค COVID-19

April 16, 2020


เมื่อคราวเสียงจอแจข้างถนนหนทาง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวันค่อยๆ เงียบลง ตรงกันข้ามกับเสียงรายงานข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หรือกระทั่งสื่อในโลกออนไลน์ที่ดังขึ้นเรื่อยๆ โหมกระหน่ำด้วยข้อมูลจำนวนผู้ป่วย มาตรการเยียวยา และนโยบายรับมืออื่นๆ ชนิดนาทีต่อนาที

 

หนึ่งในนั้นคือ การประกาศหยุดซื้อขายสุรา ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นมา เป็นผลให้คนจำนวนหนึ่งต่างพากันซื้อเหล้ากักตุนไว้ที่บ้าน หวังดื่มคลายเครียดช่วงถูกกักตัวและเว้นระยะห่างทางสังคม จนน่าเป็นห่วงว่าปัญหาต่างๆ จากการดื่มสุราอาจพุ่งสูงขึ้นในเวลาอันสั้น 

 

ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามนอกจากการดื่มสุรา คือ ‘การหยุดดื่ม’ อย่างฉับพลันของกลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรัง เพราะไม่สามารถหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่ทันปรับตัว จนเกิด ‘ภาวะขาดสุรา’  ดังที่เราได้ยินข่าวคนเพ้อคลั่ง ชัก หวิดจะเสียชีวิตในช่วงนี้อยู่เนืองๆ 

 

Alcohol Rhythm เปลี่ยนจังหวะชีวิตคนติดเหล้า จึงขอสรุปข้อควรระวังเรื่องเหล้าและการดูแลผู้ติดเหล้าที่ต้องหยุดดื่มจนอาจ ‘ลงแดง’ ด้วยข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา และ สสส. มาแนะนำแก่คุณในช่วงที่โควิด-19 คืบคลานเข้ามากล้ำกรายสังคมไทย

 

 

1.ไม่ควรดื่มสุราระหว่างกักตัว 

 

มีรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลออกประกาศการงดขายเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ตลอดจนยาสูบ ทำให้ผู้คนแห่กันออกไปห้างสรรพสินค้าเพื่อกักตุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับช่วงที่ไม่สามารถซื้อขายสินค้าดังกล่าว

 

แต่เราไม่ควรที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในระหว่างกักตัวไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม

 

 

2.แอลกอฮอล์จากสุรากันโควิด-19 ไม่ได้ 

 

ในยามที่ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาด ความหวังและความเชื่อของชาวบ้านในยามที่ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส อาจกลายเป็นสิ่งที่น่ากังวล โดยเฉพาะข่าวสารและความเชื่อผิดๆ เรื่องการใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ‘ในร่างกาย’ ผ่านการดื่มเหล้า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า “ชาวอิหร่านกว่า 600 คน ถูกหามส่งโรงพยาบาล หลังดื่มเหล้ากลั่น เพราะมีความเชื่อว่า แอลกอฮอล์ในเหล้าสามารถยับยั้งไวรัสและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ COVID-19 ได้” 

 

 

3.อย่าลืมสังเกตอาการลงแดงจากการขาดสุรา

 

ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นมา รัฐบาลได้เห็นชอบให้มีการงดจำหน่ายสุราและบุหรี่ สำหรับผู้ติดสุราเรื้อรัง การงดอย่างฉับพลันเช่นนี้อาจนำไปสู่อาการขาดสุรา หรือลงแดงได้ 

โดยกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ

-กลุ่มผู้ดื่มสุราที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

-ผู้ที่ดื่มสุราคราวละมากกว่า 150 กรัมต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานและต้องหยุดดื่มกะทันหัน

ผู้ที่เคยมีประวัติผู้มีอาการเพ้อคลั่งและสั่น หรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่า delirium tremens (DTs) 

 

 

คำแนะนำสำหรับผู้ติดสุราเรื้อรังจากแพทย์ คือ การค่อยๆ ลดระดับการดื่มแอลกอฮอลล์ลงในช่วงที่มีการงดจำหน่ายสุราเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ

 

 

แนวทางการรับมืออาการขาดสุราสำหรับแพทย์

 

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา และ สสส. เผยแนวทางการรักษา 6 ประการต่อผู้ทีประสบปัญหาจากการขาดสุราในระยะห้ามซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับสถานพยาบาล


 

แนวทางการรักษา 5s

 

ผู้ป่วยจากอาการขาดสุราจะถูกประเมินเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับต่ำ มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการหยุดสุราเป็นระยะเวลา 6-36 ชั่วโมง จะมีอาการมือสั่น วิตกกังวลเล็กน้อย หงุดหงิด ปวดมึนศีรษะ เหงื่อออก ใจสั่น ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ผะอืดผะอม อาเจียน นอนไม่หลับ 

ระดับปานกลางถึงรุนแรง เกิดหลังจากหยุดดื่ม 24-72 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักมีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง เหงื่อออกมาก ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชีพจรเต้นเร็วมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที 

ระดับรุนแรงมากถึงขั้นเพ้อคลั่งหรือ DTs มีอาการหลังจากดื่ม 48-96 ชั่วโมง คือ กระสับกระส่ายมาก อยู่ไม่นิ่ง เดินไปเดินมา มือสั่น ตัวสั่น ไม่รู้วันเวลา สถานที่ ชีพจรเต้นเร็ว เห็นภาพหลอน หูแว่ว

 

สำหรับการรักษาผู้ป่วยลงแดงเหล่านี้จะใช้แนวทางการรักษา 5s ซึ่งประกอบด้วย

 

 

 

Related Articles